ประวัติของอินเทอร์เน็ตอินเทอร์เน็ต(INTERNET) อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Interconnection Network หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก โดยใช้โปรโตคอล (Protocol ) เป็นมาตรฐานในการติดต่อสื่อสาร เครือข่ายคอมพิวเตอร์ : โปรโตคอล ชุดของกฎหรือข้อตกลงในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถรับ-ส่งข้อมูลระหว่างกันได้ถูกต้อง IPX/SPX เป็นโปโตคอลที่ใช้ในเครือข่ายที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Netware NetBIOS และ NetBEUI เป็นโปรโตคอลที่บริษัทไอบีเอ็ม พัฒนาร่วมกับบริษัท ไมโครซอฟต์ ใช้ในเครือข่ายที่ใช้ระบบปฏิบัติการWindows เวอร์ชั่นต่าง ๆ TCP/IP เป็นโปรโตคอลที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบอินเทอร์เน็ตและมีแนวโน้มว่าจะถูกนำมาใช้แทนโปรโตคอลอื่น ๆ ในอนาคต ประวัติของอินเทอร์เน็ต อินเตอร์เน็ตพัฒนาขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1969 ในยุคสงครามเย็นระหว่าง สหรัฐกับสหภาพโซเวียต ที่แข่งขันกันพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ โซเวียตส่งดาวเทียมดวงแรกสู่ห้วงอวกาศอเมริกาจึงเริ่มพัฒนาเครือข่ายสื่อสารทางทหารชื่อ ARPANET ขึ้นโดยออกแบบระบบให้เหมือนร่างแหที่กระจายไปทั่ว ให้มั่นใจว่าหากถูกถล่มด้วยระเบิดนิวเคลียร์ เครือข่ายก็จะไม่ถูกตัดขาด ยังมีทางส่งข้อมูลอ้อมไปได้เมื่อภาวะสงครามคลายลงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่มีความจำเป็นที่จะใช้เฉพาะเครือข่ายทางการทหารอีกต่อไป เครือข่ายจึงขยายตัวออกไปสู่ธุรกิจด้านต่างๆทั่วโลก และได้มีการเชื่อมต่อนับพันล้านเครื่องในเวลาที่รวดเร็วมีการเชื่อมต่อผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมอยู่เดิมมากขึ้นเป็นลำดับผู้เชื่อมต่อต้องลงทุนอุปกรณ์ เครื่องมือ รวมถึงจ่ายค่าสัมปทานจากรัฐ ผู้ให้บริการเชื่อมต่อเรียกว่า ISP (Internet Service Povider) เก็บค่าบริการต่างกันขึ้นอยู่กับการเชื่อมต่อ ความเร็ว เวลาการใช้งาน ค.ศ.1973 (พ.ศ.2516) มีการเชื่อมโยงเครือข่ายอาร์พาเน็ต กับมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้เชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายคอมพิวเตอร์กลุ่มอื่น ๆ อีกหลายเครือข่ายทั้งในยุโรปและอเมริกาเช่น NSFNET (National Science Foundation Network) CSNET ( Computer Science Network) EUNET (European Unix Network ) เกิดเป็นเครือข่ายในลักษณะ เครือข่ายของเครือข่าย
Baud ตั้งชื่อตามวิศวกรและผู้ประดิษฐ์โทรเลขชาวฝรั่งเศส ชื่อว่ายังมอริส - อีมิล โบด็อท (jean - Maurice - Emile Baudot) เดิมใช้วัดความเร็วของการส่งโทรเลข ปัจจุบันใช้วัดความเร็วของการถ่ายทอดสัญญาณของโมเด็ม (modem) ต่อมาเปลี่ยนไปใช้บริการไทยแพคผ่านการหมุนโทรศัพท์ไปยังการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำการรับส่งอีเมล์กับมหาวิทยาลัยโตเกียวมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และบริษัท UUNET ที่เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา นับได้ว่า อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต เป็นผู้เริ่มใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์รายแรกของประเทศไทย หลังจากนั้นรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้โครงการ The International Development Plan (IDP)ได้ให้ความช่วยเหลือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยขึ้นมา ในปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย เป็นศูนย์กลางของประเทศไทยเชื่อมโยงแม่ข่ายไปที่มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ตั้งชื่อโครงการนี้ว่า TCSNet (Thai Computer Science Network) มีการติดต่อผ่านเครือข่ายวันละ 2 ครั้ง จ่ายค่าใช้จ่ายปีละ 4 หมื่นบาท และใช้ซอฟต์แวร์ SUNIII ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ UNIX ที่แพร่หลายในออสเตรเลีย (Australian Computer Science Network - ACSNet)นอกจากนี้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ยังเป็นศูนย์เชื่อม (Gateway) ระหว่างประเทศไทย กับ UUNET อันส่งผลให้นักวิชาไทยทั่วไป สามารถใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างกว้างขวาง ปัจจุบัน UUNet เป็น ISP ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีเครือข่ายทั่วสหรัฐให้บริการ connection ตั้งแต่ 28.8 Kbps ถึง 155 Mbpsและยังเชื่อมต่อไปยังทวีปยุโรป เอเชีย และ ออสเตรเลียด้วย รวมๆ แล้ว UUNet บริการ Internet ถึง 114 ประเทศ พ.ศ. 2534 อาจารย์ทวีศักดิ์ กออนันตกูล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งศูนย์อีเมล์แห่งใหม่ ใช้โมเด็ม 14.4 Kbps (ซึ่งเร็วที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น) ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่อง Munnari ของออสเตรเลีย กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศผ่านโปรแกรม UUCP การให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง เป็นบริษัทถือหุ้นระหว่างการสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนามบริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย(Internet Thailand)โดยใช้สายเช่าครึ่งวงจรขนาด 512 Kbps ไปยัง UUNet เป็นผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต เชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย พฤศจิกายน 2544 แปรรูปพ้นสถานะรัฐวิสาหกิจโดยกระจายหุ้นส่วนใหญ่ ให้กับประชาชนผู้สนใจในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และได้เพิ่มจำนวนจนเป็น 18 บริษัท ปัจจุบันมีองค์กรคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือ กทช. ทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมให้เกิดการแข่งขันเสรีเป็นธรรม ทำให้ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทย ถึง 59 ราย เปิดเสรีให้ผู้ที่มีศักยภาพโดยเสียค่าธรรมเนียมในอัตราที่ถูก ผู้ให้บริการสามารถพัฒนาคุณภาพบริการให้สูงที่สุดและในราคาถูกที่สุดได้ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในประเทศไทยอินเทอร์เน็ต ในอดีตการเข้าถึงโครงข่ายใช้คอมพิวเตอร์ต่อผ่านโทรศัพท์บ้าน ผ่านโมเด็มเป็นอุปกรณ์โทรฯเรียกเข้าศูนย์ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Dial Up คิดค่าบริการเป็นชั่วโมง ปลายศตวรรษที่ 20 เทคโนโลยีโมเด็มได้ถูกพัฒนาความเร็วเพิ่มขึ้นด้วยเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล (Data Compression) สามารถส่งความเร็วได้สูงถึง 56 kbps ภายใต้ข้อจำกัดอัตราการรับส่งข้อมูลของโครงข่ายสายทองแดงเดิมที่มีอยู่ทั่วโลกยุคอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงพัฒนาการรับส่งข้อมูลผ่านสายทองแดง เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุค Digital Subscriber Line หรือ DSL พัฒนาการรับส่งข้อมูลผ่านสายลวดทองแดงให้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้สามารถรับส่งข้อมูลความเร็วได้ตั้งแต่ 5 Mbps จนกระทั่งถึง 100 Mbps การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสื่ออื่นๆนอกจากนั้นยังมีการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงผ่านข่ายสายไฟฟ้า (Broadband Power Line) ล่าสุดผู้ให้บริการไฟฟ้าทั้งสามแห่งได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจาก กทช. ให้สามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้าในประเทศได้ ต่อมาเทคโนโลยีไร้สายเริ่มแพร่หลายในวงการโทรคมนาคมโดยเริ่มจากการใช้ WiFi ของ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายนอกจากนั้นก็ยังมีการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียม ที่รู้จักกันในนาม iPSTAR เรียกได้ว่าเป็นดาวเทียมแบบ interactive ดวงแรกและพัฒนาเป็น WISP หรือ Wireless ISP ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงไร้สายที่เรียกโดยรวมว่า Broadband Wireless Access (BWA) หรือชื่อทางการค้าอย่าง WiMax เป็นต้น WiMAX กล่าวให้เข้าใจง่ายคือ การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตไร้สาย ที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างเป็น สิบๆ กิโลเมตร
ความสำคัญของอินเทอร์เน็ต ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีบทบาทและมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเราเป็นอย่างมาก เพราะทำให้วิถีชีวิตเราทันสมัยและทันเหตุการณ์อยู่เสมอ เนื่องจากอินเทอร์เน็ตจะมีการเสนอข้อมูลข่าวปัจจุบัน และสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ผู้ใช้ทราบเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน สารสนเทศที่เสนอในอินเทอร์เน็ตจะมีมากมายหลายรูปแบบเพื่อสนองความสนใจและความต้องการของผู้ใช้ทุกกลุ่ม อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งสารสนเทศสำคัญสำหรับทุกคนเพราะสามารถค้นหาสิ่งที่ตนสนใจได้ในทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปค้นคว้าในห้องสมุด หรือแม้แต่การรับรู้ข่าวสารทั่วโลกก็สามารถอ่านได้ในอินเทอร์เน็ตจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ของหนังสือพิมพ์
จรรยามารยาทบนอินเทอร์เน็ต (Netiquette) ทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทและส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ในแทบทุกด้าน รวมทั้งได้ก่อให้เกิดประเด็นปัญหาขึ้นในสังคม ไม่ว่าในเรื่อง ความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย เสรีภาพของการพูดอ่านเขียน ความซื่อสัตย์ รวมถึงความตระหนักในเรื่องพฤติกรรมที่เราปฏิบัติต่อกันและกันในสังคมอินเทอร์เน็ต ในบทความนี้ผู้เขียนขอทบทวนเรื่อง จรรยามารยาทบนอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกกันในกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตว่า Netiquette เพื่อให้เป็นของฝากสำหรับสมาชิกใหม่ที่เรียกกันว่า Net Newbies และให้เป็นของแถมเพื่อการทบทวนสำหรับนักท่องเน็ตที่เป็น ขาประจำ [แก้] Netiquette คืออะไร Netiquette เป็นคำที่มาจาก network etiquette หมายถึง จรรยามารยาทของการอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ต หรือ cyberspace ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ผู้คนเข้ามาแลกเปลี่ยน สื่อสาร และทำกิจกรรมรวมกัน ชุมชนใหญ่บ้างเล็กบ้างบนอินเทอร์เน็ตนั้น ก็ไม่ต่างจากสังคมบนโลกแห่งความเป็นจริง ที่จำเป็นต้องมีกฎกติกา (codes of conduct) เพื่อใช้เป็นกลไกสำหรับการกำกับดูแลพฤติกรรมและการปฏิสัมพันธ์ของสมาชิก [แก้] บัญญัติ 10 ประการสำหรับผู้เริ่มต้น ถ้าศึกษาค้นคว้าในเรื่อง Netiquette บนเว็บ จะพบการอ้างอิงและกล่าวถึง The Core Rules of Netiquette จากหนังสือเรื่อง Netiquette เขียนโดย Virginia Shea ซึ่งเธอได้บัญญัติกฎกติกาที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตพึงตระหนักและยึดเป็นแนวปฏิบัติ 10 ข้อ ดังนี้
กฏข้อที่ 1 เป็นข้อเตือนใจสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในขณะที่เรานั่งพิมพ์ข้อความเพื่อติดต่อสื่อสารผ่านจอคอมพิวเตอร์นั้น ต้องไม่ลืมว่าปลายทางอีกด้านหนึ่งของการสื่อสารนั้นที่จริงแล้วก็คือ มนุษย์
กฎข้อที่ 2 เป็นหลักคิดง่าย ๆ ที่อาจจะยึดเป็นแนวปฏิบัติ หากไม่รู้ว่าควรจะทำตัวอย่างไร ก็ให้ยึดกติกามารยาทที่เราถือปฏิบัติในสังคมมาเป็นบรรทัดฐานของการอยู่ร่วมกันแบบออนไลน์
กฎข้อที่ 3 เป็นข้อแนะนำให้เราใช้งานอย่างมีสติ รู้ตัวว่าเรากำลังอยู่ ณ ที่ใด เมื่อเข้าในพื้นที่ใหม่ ควรศึกษาและทำความรู้จักกับชุมชนนั้น ก่อนที่จะเข้าร่วมสนทนาหรือทำกิจกรรมใด ๆ
กฎข้อที่ 4 ให้รู้จักเคารพผู้อื่นด้วยการตระหนักในเรื่องเวลา ซึ่งจะสัมพันธ์กับขนาดช่องสัญญาณของการเข้าถึงเครือข่าย นั่นคือ ให้คำนึงถึงสาระเนื้อหาที่จะส่งออกไป ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มสนทนาหรือการส่งอีเมล เราควรจะ คิดสักนิดก่อน submit ใช้เวลาตรึกตรองสักหน่อยว่า ข้อความเหล่านั้นเหมาะสมหรือมีสาระประโยชน์กับใครมากน้อยเพียงใด
กฎข้อที่ 5 เป็นข้อแนะนำผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับการเขียนและการใช้ภาษา เนื่องจากปัจจุบันวิธีการสื่อสารบนเน็ตใช้การเขียนและข้อความเป็นหลัก การตัดสินว่าคนที่เราติดต่อสื่อสารด้วยเป็นคนแบบใด จะอาศัยสาระเนื้อหารวมทั้งคำที่ใช้ ดังนั้น ถ้าจะให้ ดูดี ก็ควรใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมและตรวจสอบคำสะกดให้ถูกต้อง
กฎข้อที่ 6 เป็นข้อแนะนำให้เรารู้จักใช้จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบของอินเทอร์เน็ต นั่นคือ การใช้เครือข่ายเพื่อเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยน ความรู้ รวมทั้งประสบการณ์กับผู้คนจำนวนมาก ๆ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของอินเทอร์เน็ตนั่นเอง
กฎข้อที่ 7 เป็นข้อคิดที่ต้องการให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ร่วมมือกันเพื่อช่วยควบคุมและลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการส่งความคิดเห็นด้วยการใช้คำที่หยาบคาย เติมอารมณ์ความรู้สึกอย่างรุนแรงจนเป็นชนวนให้เกิดกรณีทะเลาะวิวาทกันในกลุ่มสมาชิก ซึ่งรู้จักกันในกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตว่า flame
กฎข้อที่ 8 เป็นคำเตือนให้เรารู้จักเคารพในความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น เช่นไม่อ่านอีเมลของผู้อื่น เป็นต้น
กฎข้อที่ 9 เป็นคำเตือนสำหรับผู้ที่ได้รับสิทธิพิเศษ เช่น ผู้ดูแลระบบบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งมักจะได้รับสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่น บุคคลเหล่านี้ก็ไม่ควรใช้อำนาจหรือสิทธิ์ที่ได้รับไปในทางที่ไม่ถูกต้องและเป็นการเอาเปรียบผู้อื่น
กฎข้อที่ 10 เป็นคำแนะนำให้เรารู้จักให้อภัยผู้อื่น โดยเฉพาะพวก newbies ในกรณีที่พบว่าเขาทำผิดพลาดหรือไม่เหมาะสม และหากมีโอกาสแนะนำคนเหล่านั้น ก็ควรจะชี้ข้อผิดพลาดและให้คำแนะนำอย่างสุภาพ โดยอาจส่งข้อความแจ้งถึงผู้นั้นโดยตรงผ่านทางอีเมล
อุปกรณ์สื่อสารข้อมูลอุปกรณ์สื่อสารข้อมูล (Data Communictaion Equipment)
นิยมเรียกกันว่า มัก (MUX) จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการลดค่าใช้จ่ายในการส่งข้อมูลผ่านสายสื่อสาร โดยจะทำการ รวมข้อมูล (multiplex) จากเครื่องเทอร์มินัลจำนวนหนึ่งเข้าด้วยกัน และส่งผ่านสายสื่อสาร เช่น สายโทรศัพท์ และที่ปลายทาง MUX มักอีกตัวก็จะทำหน้าที่ แยกข้อมูล (demultiplex) ส่งไปยังจุดหมายที่ต้องการ คอนเซนเตรเตอร์ (Concentrator)
สามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า LAN Concentrator เนื่องจากฮับจะทำหน้าที่เช่นเดียวกับคอนเซน แต่จะมีราคาถูกกว่า นิยมใช้ในเครือข่าย LAN รุ่นใหม่ ๆ โดยใช้อับในการเชื่อมสายสัญญาณจากหลาย ๆ จุดเข้าเป็นจุดเดียวในโทโปโลยีของ LAN แบบ Star เช่น 10BaseT เป็นต้น
เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Physical Layer ใน OSI Model มีหน้าที่เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อสำหรับขยายสัญญาณให้กับเครือข่าย และไม่รู้จักลักษณะของข้อมูลที่แฝงมากับสัญญาณเลย
หรือที่นิยมเรียกว่า อีเธอร์เนตสวิตซ์ (Ethernet Switch) จะเป็น บริดจ์แบบหลายช่องทาง (multiport bridge) ที่นิยมใช้ในระบบเครือข่ายแลนแบบ Ethernetเพื่อใช้เชื่อมต่อเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่าย (segment) เข้าด้วยกัน สวิตซ์จะช่วยละการจราจรระหว่างเครือข่ายที่ไม่จำเป็น (ตามคุณสมบัติของบริดจ์) และเนื่องจากการเชื่อมต่อแต่ละช่องทางการะทำอยู่ภายในตัวสวิตซ์เอง ทำให้สามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลในแต่ละเครือข่าย (Switching) ได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้บริดจ์จำนวนหลาย ๆ ตัวเชื่อมต่อกัน
เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับที่อยู่สูงกว่าบริดจ์ นั่นคือในระดับ Network Layer ใน OSI Model ทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลเครือข่ายต่างกันและสามารถทำการ กรอง (filter) เลือกเฉพาะชนิดของข้อมูลที่ระบุไว้ว่าให้ผ่านไปได้ ทำให้ช่วยลดปัญหาการจราจรที่คับคั่งของข้อมูล และเพิ่มระดับความปลอดภัยของเครือข่าย นอกจากนี้เราท์เตอร์ยังสามารถหาเส้นทางการส่งข้อมูลที่เหมาะสมให้โดยอัตโนมัติด้วย (ในกรณที่สามารถส่งได้หลายเส้นทาง ) เราท์เตอร์จะเป็นอุปกรณืที่ขึ้นอยู่กับโปรโตคอล นั่นคือในการใช้งานจะต้องเลือกซื้อเราท์เตอร์ที่สนับสนุนโปรโตคอลของเครือข่ายที่ต้องการจะเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน
เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Transport Layer จนถึง Application Layer ของ OSI Model มีหน้าที่ในการเชื่อมต่อและแปลงข้อมูลระหว่างเครือข่ายที่แตกต่างกันทั้งในส่วนของโปรโตคอลและสถาปัตยกรรมของเครือข่าย LAN และระบบ Mainframeหรือเชื่อมระหว่างเครือข่าย SNAของ IBM กับ DECNet ของ DEC เป็นต้น โดยปกติ Gateway มักจะเป็น Software Packageที่ใช้ในงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง (ซึ่งทำให้เครื่องนั้นมีสถานะเป็น Gateway)และมักใช้สำหรับเชื่อม Workstation เข้าสู่เครื่องที่เป็นเครื่องหลัก ทำให้เครื่องที่เป็น Workstationสามารถทำงานติดต่อกับเครื่องหลักได้โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับข้อแตกต่างของระบบเลย
วิถีชีวิตยุคใหม่ของคนเมือง ที่ไม่ต้องการทำงานที่ไม่ยึดติดกับที่ อินเทอร์เน็ตไร้สายจะเหมาะกับคุณมากที่สุด เพราะว่าสามารถใช้งานได้ทุกอย่างไม่ว่าจะดาวน์โหลดไฟล์ หรือค้นหาข้อมูล
Wi-Fi หรือในชื่อเต็มๆว่า Wireless-Fidelity เป็นเทคโนโลยีสื่อสารแบบไร้สายที่ตอนนี้ได้รับความนิยมอย่างสูง เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องการเดินสายเหมือนกับเครือข่ายแลนแบบเดิมๆ เทคโนโลยีหรือมาตรฐานของ Wi-Fi ในปัจจุบันที่ใช้กันอยู่คือ 802.11 ซึ่งมีอายุมากกว่า 7 ปีแล้ว โดยเป็นมาตรฐานที่ถูกอนุมัติให้ใช้จาก IEEE(the Institute of Electrical and Electronics Engineers) เพื่อให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้บนมาตรฐานการทำงานแบบเดียวกันนั่นเอง ในปัจจุบัน ทั่วกรุงเทพฯ ตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟ ร้านหนังสือ ห้างสรรพสินค้า หรือแม้แต่โรงพยาบาล ฯลฯ ได้เริ่มมีบริการ Access Point สำหรับใช้งาน Wi-Fi ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทันใจ จนแทบจะพูดได้ว่า คุณสามารถมีชีวิตแบบไร้สายได้ทุกที่ทุกเวลากันเลยทีเดียว Wi-Fi เป็น เครื่องหมายทางการค้า ของมาตรฐานอุปกรณ์ - IEEE 802.11b
ถ้าเราอยากเล่นเนตแบบไร้สาย ก็ต้องมี เดี๋ยวนี้ Notebook ส่วนมากมี Wi-Fi ติดมาให้เกือบทุกตัวครับ วายฟาย[1] (Wi-Fi ย่อมาจาก wireless fidelity) หมายถึงชุดผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่สามารถใช้ได้กับมาตรฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย (WLAN) ซึ่งอยู่บนมาตรฐาน IEEE 802.11 เดิมทีวายฟายออกแบบมาใช้สำหรับอุปกรณ์พกพาต่างๆ และใช้เครือข่าย LAN เท่านั้น แต่ปัจจุบันนิยมใช้วายฟายเพื่อต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยอุปกรณ์พกพาต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่าแอคเซสพอยต์ และบริเวณที่ระยะทำการของแอคเซสพอยต์ครอบคลุมเรียกว่า ฮอตสปอต แต่เดิมคำว่า Wi-Fi เป็นชื่อที่ตั้งแทนตัวเลข IEEE 802.11 ซึ่งง่ายกว่าในการจดจำ โดยนำมาจากเครื่องขยายเสียง Hi-Fi อย่างไรก็ตามในปัจจุบันใช้เป็นคำย่อของ Wireless-Fidelity โดยมีแสดงในเว็บไซต์ของ Wi-Fi Alliance โดยใช้ชื่อวายฟายเป็นเครื่องหมายการค้า ปัจจุบันวายฟายถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย เครื่องเล่นวิดีโอเกม นินเทนโด ดีเอส และ พีเอสพี มีความสามารถในการเล่มเกมกับเครื่องอื่นผ่านวายฟายเช่นกัน แล้ว WiFi กับ Bluetooth มันเหมือนกันไหม?
ผมขอบอกว่า 2 อย่างนี้มันคล้ายๆกันครับ ถึงแม้ว่า Bluetooth กับ Wi-Fi มันจะเป็นการติดต่อเพื่อสร้างระบบ Network เล็กๆโดยการเชื่อมโยงอุปกรณ์ตั้งแต่สองตัวเข้าหากัน แต่การใช้งานของ Bluetooth กับ Wi-Fi นั้นมันต่างกันมากครับถึงว่า เทคโนโลยีของ Wi-Fi กับ Bluetooth มันจะใช้ความถี่คลื่นเดียวกันที่ 2.4 GHz และ Bluetooth กับ Wi-Fi มันก็ไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้ Bluetooth เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์สองตัวเข้าหากันด้วยความถี่คลื่นที่ 2.4 GHz ซึ่งมีระยะการทำงานที่สั้นมากคือได้ประมาณ 30 ฟุตเป็นอย่างมากในที่โล่ง จุดประสงค์ที่เขาสร้าง Bluetooth ขึ้นมาก็เพื่อมาแทนที่สายไฟที่ระเกะระกะ ในการเชื่อมโยงอุปกรณ์สองตัวเข้าหากัน เช่น Palm กับ โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์มือถือ กับ Small talk ข้อจำกัดของ Bluetooth นอกจากเรื่องของระยะทางที่สั้น แล้วเรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูลก็ยังต่ำกว่า Wi-Fi อีกด้วย หากเอามาใช้งานการส่งข้อมูลไม่มาก เช่น เอามาใช้ Hotsync กับเครื่อง Palm หรือ Beam file จากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่อง เท่านี้คงจะไม่รู้สึกเท่าไร แต่หากจะเอา PC สองตัวมาทำระบบ Network โดยใช้ Bluetooth หละก็จะเห็นถึงความอืดอย่างชัดเจน อย่างที่ผมเคยทดสอบมา โอนไฟล์จาก PC เครื่องหนึ่งไปยัง อีกเครื่องหนึ่ง รอกันเบื่อกันไปข้างเลยครับ สรุปง่ายๆก็คือว่า Bluetooth เหมาะสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ Device เล็กเข้ากัน ด้วยระยะทางเพียงสั้นๆ เพื่อสร้าง Network แบบกระจุ๋มกระจิ๋มส่วนตัว ที่ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า PAN ( Personal area network ) แนะนำกันไปยืดยาวจนคอแห้งแล้วนะครับว่า Wireless Lan ที่มักเรียกกันติดปากว่า Wi-Fi มันคืออะไร สมัยนี้เรื่องการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์เขากำลังเป็นที่นิยม เพราะเขาเชื่อกันว่าในบ้านสมัยนี้เขามักจะมีคอมพิวเตอร์มากกว่า 1 เครื่องดังนั้นเราก็น่าจะเอาคอมพิวเตอร์ในบ้านทั้งหมด มาต่อเชื่อมกันเพื่อแชร์ทรัพยากรร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น อินเตอร์เน็ตหรือ Printer จะได้ช่วยกันประหยัด หรือเอาแบบ เท่ห์ๆหน่อยก็ ส่ง msn หรือ email ไปเรียก คุณพ่อ หรือคุณ แม่ที่อยู่ชั้นสองให้ลงมาทานข้าวพร้อมกัน ก็ยังได้ หรือหากบ้านไหนอยู่กันเยอะๆก็อาจจะมาเล่นเกมส์ร่วมกันบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ได้
ผมเชื่อว่าหมู่นี้เรามักจะได้ยินคำว่า Hot spot มากขึ้น แล้วเจ้า Hot spot มันมาเกี่ยวโยงอะไรกับ Wi-Fi ได้ไง เดี๋ยวเรามาดูกันครับ ผมขอเกริ่นเล็กๆน้อยๆกันก่อนว่า ในยุคสมัยนี้การที่เราจะเล่น อินเตอร์เน็ตขณะอยู่นอกบ้านนั้นเราสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ 1. ไปหา Internet Cafe' อันนี้เป็นวิธีที่ประหยัดที่สุด ค่าใช้จ่ายตกประมาณชั่วโมงละ 30-50 บาทโดยเฉลี่ย แต่มีข้อดีที่ว่าสะดวกง่ายดาย อยากใช้เมื่อไรวิ่งหาร้านจ่ายสตางค์แล้วลุยกันได้เลย แต่ข้อเสียก็มีครับ คือเราไม่สามารถใช้ข้อมูลส่วนตัวที่เราทำงานบนเครื่อง PC ที่บ้านได้ ถึงจะทำได้ก็ค่อนข้างวุ่นวายมากทีเดียว หากลืมไฟล์ไว้ที่ PC ที่บ้านก็จบกัน ส่วนมากจะใช้หาข้อมูลจาก www , เช็ค email หรือ chat เสียมากกว่า และเรื่องของความปลอดภัยในข้อมูลที่เรากรอกไว้ที่เครื่อง PC ในร้านก็ค่อนข้างเสี่ยง และความเร็วของ อินเตอร์เน็ตในแต่ละร้านก็ค่อนข้างจะเอาแน่เอานอนไม่ได้เสียด้วย 2.ใช้ GPRS โดยนำ Notebook หรือ PDA ต่อ อินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือผ่านระบบ GPRS วิธีนี้ดูเหมือนจะ เดิ้ล มากพอสมควร แบบสามารถใช้งานได้ทุกที่ที่มีคลื่นโทรศัพท์ เรื่องของค่าใช้จ่ายก็จะคิดตามปริมาณข้อมูลรับส่ง หากเป็นการใช้งานบนเครื่อง PDA อาจจะไม่ค่อยรู้สึกเท่าไร แต่หากเป็น Notebook อาจจะค่อนข้างเปลืองมากกว่า แต่ก็นับว่าโชคดีที่สมัยนี้ยังมี GPRS แบบไม่จำกัดปริมาณการใช้งานอยู่เลยทำให้ผู้ที่ได้รับโปรโมชั่นนี้อาจจะไม่ค่อยรู้สึกเท่าไรนัก แต่เรื่องของความเร็วของ GPRS นั้นยังมี speed ที่ประมาณ 40 Kbps 3.Hotspot เป็นบริการ อินเตอร์เน็ตสาธารณะไร้สายความเร็วสูง ด้วยเทคโนโลยีของ Wireless Lan หรือที่เรียกกันติดปากว่า Wi-Fi ซึ่งในปัจจุบันก็มีให้บริการกันมากขึ้นเรื่อยตามแหล่งชุมชน ต่างๆ เช่น สนามบิน ร้านอาหาร โรงแรม โรงพยาบาล การใช้บริการ Hotspot นี้ อาจจะต้องลงทุนสูงสักนิด เพราะสองสิ่งหลักที่เราต้องมีก็คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook หรือ PDA และ Wireless Lan card ( ราคาประมาณ 1500-2000 บาท ) แต่หาก Notebook หรือ PDA บางรุ่นมี Wi-Fi ในตัวก็สบายไปหน่อยไม่ต้องไปหาซื้ออุปกรณ์เพิ่ม ข้อดีของการใช้ Wi-Fi ก็คือ สถานที่ที่บริการ อินเตอร์เน็ตสาธาณะที่เรียกกันว่า Hot Spot นี้เขามักจะบริการด้วย อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง แบบเปิดเว็บปุ๊ปมาปั๊ป ค่อนข้างทันใจ และเราสามารถยก office ไปนั้งทำงานตามร้านกาแฟได้อย่างสบายๆ เพราะข้อมูลงานต่างๆของเรานั้นก็เก็บไว้ใน Notebook ของเราอยู่แล้ว แบบประมาณว่าจัดประชุมนัดลูกค้ามาคุยกันนอกสถานที่เลยก็ได้ แต่ Hot Spot ในบ้านเรานั้นเรียกว่ายังใหม่ กิ๊ก อยู่เลยครับ ทำให้อัตราค่าบริการยังค่อนข้างสูงมากทีเดียว แต่บางที่ก็บริการฟรีนะครับ จุดให้บริการก็เริ่มทยอยเปิดกันเรื่อยๆ แต่เรื่อง Hotspot นี้ในบ้านเรานับว่าเป็นสิ่งที่ใหม่มากพอสมควร การใช้งานอาจจะยังขัดๆเขินกันบ้างเล็กน้อย แต่สำหรับในต่างประเทศนั้นมันเป็นสิ่งที่ฮิตมากทีเดียว หากเป็นรางวัลก็ต้องขอมอบรางวัลแบบ ออสการ์ให้ไปเลย เพราะว่ามันเป็นที่นิยมอย่างไม่น่าเชื่อ
|
บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน |
|